คำถามและคำตอบ
- นิสิตทุกชั้นปีจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการอย่างน้อยชั้นปีละ 1 ท่าน ให้นิสิตตรวจสอบชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการได้ที่ระบบทะเบียน reg.buu.ac.th
- ถ้านิสิตต้องการพบอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการประจำชั้นปี ให้ตรวจสอบตารางสอนของอาจารย์ท่านนั้น แล้วส่งอีเมลไปขอนัดพบเพื่อขอรับคำปรึกษาก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทำการ เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวนิสิตเอง
- โดยปกติแล้ว วันพฤหัสบดี จะเป็นวันประชุมของคณะฯ นิสิตต้องสอบถามอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน เพื่อทำการนัดหมาย
- ถ้ามีคำถามเกี่ยวกับการศึกษาในทุกกรณี สามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานจัดการศึกษา คณะวิทยาการสารสนเทศ ชั้น 2 ห้อง IF210 อาคารคณะวิทยาการสารสนเทศ ในวันและเวลาราชการ
คำตอบ:
- จำแนกสภาพเมื่อหมดเทอม ไม่คิดวิชาที่ติด I
- 1.75 <= GPA <= 1.99, นิสิตถูกจำแนกสภาพรอพินิจ (ทะเบียนจะแจ้งนิสิตและ อ.ที่ปรึกษาทราบภายในสองสัปดาห์หลังปิดเทอม)
- เงื่อนไขการ retire
- ภาคการศึกษาแรกได้ GPA < 1.25
- ทุกภาคการศึกษา GPA < 1.75
- GPA < 1.8 มา 2 เทอมติด
- GPA < 2.0 มา 4 เทอมติด
- ผลการเรียนภาคฤดูร้อน นำไปคิดในเทอมถัดไป
- GPA <= 1.99, ขอจบรับปริญญาไม่ได้
- GPA >= 3.25, 2nd Class, GPA >= 3.60, 1st Class Honor
- 1st Clas Honory & max GPA ในสาขาวิชา , ได้รับเหรียญทอง
คำตอบ:
เมื่อมีการเปลี่ยนสถานะจากนักเรียนมาเป็นนิสิตในมหาวิทยาลัย มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอยู่ 2 ประการ คือ
- ปัญหาการปรับตัวจากการเรียนในระดับมัธยมศึกษามาเป็นระดับมหาวิทยาลัย การเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาหากสอบไม่ผ่าน ยังมีโอกาสสอบใหม่จนกว่าจะผ่านได้ แต่ในการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยหากคะแนนที่ได้ไม่อยู่ในเกณฑ์ผ่านของรายวิชานั้นๆ ก็ทำให้ตกในรายวิชาดังกล่าวการตก 1รายวิชา อาจจะทำให้ต้องใช้เวลาในการสำเร็จการศึกษามากขึ้นอีก 1 ปี ถ้ายิ่งตกหลายวิชาจะทำให้พ้นสภาพนิสิตได้
- ปัญหาการปรับฐานความรู้ในด้านพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ
ดังนั้น นิสิตพึงตั้งอยู่ในความไม่ประมาทในการเรียน รู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง รวมถึงการแบ่งเวลาให้เหมาะสมทั้งส่วนการเรียนและกิจกรรม
คำตอบ:
ขอแนะนำนะครับ ถ้าคะแนนไม่น้อยถึงกับน่าเกลียด แบบต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (ค่า Mean) ขอแนะนำว่าลองสู้ต่อในปลายภาค ตั้งใจขึ้นให้มากกว่าเดิมแล้วจะมีโอกาสผ่านครับ แต่ถ้าไม่ไหวจริง ๆ คงต้องทำเรื่องของดเรียนบางรายวิชา หรือที่เรียก ๆ กันติดปากว่า ดรอป (Drop) โดยการดรอปจะต้องกระทำให้เสร็จสิ้นก่อนวันสอบปลายภาคประมาณ 2 สัปดาห์ครับ
คำตอบ:
การเปิดสอนในรายวิชาต่างๆ ของคณะฯ จะเปิดตามแผนการเรียนของแต่ละสาขาวิชา รายละเอียดอยู่ในคู่มือนิสิต กล่าวคือ บางรายวิชาจะไม่เปิดสอนในทุกภาคเรียน ดังนั้น นิสิตที่ติด F หรือ Drop อาจจะไม่สามารถลงทะเบียนรายวิชานั้นในภาคเรียนที่ต้องการได้ ต้องรอลงทะเบียนในปีการศึกษาถัดไปตามแผนการสอนของคณะฯ
คำตอบ:
เมื่อเข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว สิ่งที่หลาย ๆ คนต้องทราบ ก็คือ ระบบการตัดเกรด จากการใช้ 0 ถึง 4 เปลี่ยนมาใช้ A, B+, B, C+, C, D+, D และ Fคำว่า “โปร” ย่อมาจาก “Probation” และ “ไทร์”ย่อมาจาก “Retire” แปลง่ายๆ ว่า พ้นสภาพนิสิต มีได้หลายกรณีครับ แต่ที่เป็นที่ (ไม่น่า) นิยมมากที่สุดก็คือ การรีไทร์จากผลการเรียน นั่นคือ มีเกรดเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 1.75 (สำหรับสาเหตุอื่น ๆ นิสิตศึกษาได้ที่ข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2555 ข้อ 30 ครับ) ส่วนคำว่า “Probation” แปลเป็น ไทยง่าย ๆ ก็คือ สถานะรอพินิจ แยกย่อยได้ 2 ประเภท คือ
-โปรสูง นั่นคือเกรดเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.00 แต่มากกว่าหรือเท่ากับ 1.80 ถ้านิสิต ติดโปรสูงเกิน 4 เทอม ถ้าเทอมที่ 5 เกรด เฉลี่ยสะสมยังหนีไม่พ้น 1.80 – 2.00 โดนรีไทร์เช่นกันครับ
-โปรต่ำ นั่นคือเกรดเฉลี่ยสะสมน้อยกว่า 1.80 แต่มากกว่า 1.75 ถ้านิสิต ติดโปรต่ำเกิน 2 เทอม ถ้าเทอมที่ 3 เกรดเฉลี่ยสะสมยังหนีไม่พ้น 1.75 – 1.79 โดนรีไทร์ได้เช่นกันครับ
ที่ยกตรงนี้มาเพื่อต้องการให้นิสิต ไม่ประมาท เพราะการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยมีอะไรที่ยากกว่าระดับมัธยมมาก บางครั้งนิสิตอาจจะรู้สึกตัวอีกทีว่าเราควรขยัน เมื่อมันสายไปแล้วก็ได้ (การนับการรีไทร์ สำหรับนิสิตปี 1 เมื่อนิสิตเรียนไป 1 ปีการศึกษา แล้วเกรดเฉลี่ยสะสม ไม่พ้น 1.75 โดนรีไทร์)
คำตอบ:
เกียรตินิยม คือ ผู้ที่เรียนจนสำเร็จการศึกษา และไม่เคยสอบได้ D+, D หรือ F ในรายวิชาใดเลย และมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.25 โดยเกียรตินิยมแบ่งได้2 แบบ คือ
1. ปริญญาบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 2 ต้องเรียนครบตามหลักสูตร 4 ปี ได้เกรดเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ 3.25 ขึ้นไป
2. ปริญญาบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 ต้องเรียนครบตามหลักสูตร 4 ปี ได้เกรดเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ 3.60 ขึ้นไป
นิสิตสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2555
คำตอบ:
นิสิต สามารถเปลี่ยนประเภทนิสิตจากภาคพิเศษเป็นภาคปกติได้ ต้องเรียนหลักสูตรที่ไม่ใช่หลักสูตรต่อเนื่อง ได้ศึกษารายวิชาและสอบผ่านตามหลักสูตรการศึกษาขั้นปริญญาตรีของคณะมาแล้วไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 และได้เรียนวิชาแกนหรือวิชาหลักของคณะหรือสาขาวิชาตามที่คณะหรือภาควิชากำหนด รายละเอียดสอบถามได้ที่นักวิชาการศึกษาของคณะหรือประธานสาขาวิชา (นิสิตสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากประกาศมหาวิทยาลัยบูรพาเรื่องการเปลี่ยนประเภทนิสิตระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาเดียวกัน พ.ศ.2556)
คำตอบ:
นิสิต ซึ่งศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี อาจขอย้ายคณะได้ โดยต้องเรียนในคณะเดิมอย่างน้อย 2ภาคเรียนทั้งนี้ ไม่นับภาคเรียนที่ลาพักการศึกษาหรือถูกสั่งให้พักการเรียน และ ไม่เคยได้รับอนุมัติให้ย้ายคณะมาก่อน (นิสิตสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก ข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2555 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการย้ายเข้าสังกัดการศึกษาในคณะที่นิสิตต้องการย้ายไป)
คำตอบ:
นิสิต ซึ่งศึกษาตามหลักสูตร 4ปี อาจขอเปลี่ยนสาขาวิชาภายในคณะได้เพียงครั้งเดียว ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของหัวหน้าภาควิชาหรือประธานสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและได้รับอนุมัติจากคณบดี แล้วให้คณบดีแจ้งให้นายทะเบียนทราบ (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2555)
คำตอบ:
มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาเทียบโอนหน่วยกิตได้ตามประกาศของมหาวิทยาลัย (โดยนิสิต สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากระเบียบมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาตรีพ.ศ. 2552)
คำตอบ:
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
·สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
– นักวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ
– นักวิชาการคอมพิวเตอร์
– ผู้เขียนชุดคำสั่ง (โปรแกรมเมอร์)
– นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
– ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย
– ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล
·สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
– นักเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือนักเทคโนโลยีและสารสนเทศ
– นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
– นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ
– นักพัฒนาระบบ
– ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
– ผู้จัดการโครงการสารสนเทศ
– นักพัฒนาเว็บไซต์
– ผู้จัดการซอฟต์แวร์
– ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
– นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
·สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
– วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) หรือนักเขียนโปรแกรม (Programmer/Developer)
– วิศวกรความต้องการ (Requirement Engineer)
– นักประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality Assurance)
– วิศวกรปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement Engineer)
– นักทดสอบระบบ (Software Tester)
– นักบูรณาการระบบ (System Integrator)
– นักวิเคราะห์ระบบหรือนักออกแบบระบบ (System Analyst / Designer)
– ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ (Software Project Manager)
คำตอบ:
แนะนำว่า ตั้งใจเรียน อ่านทบทวนบ่อย ๆ หากมีข้อสงสัยในเรื่องที่เรียนรีบยกมือถามเลย อย่าอายอย่ากลัวที่จะถามอาจารย์ผู้สอน เพราะกลัวว่าจะถ่วงเพื่อนคนอื่นอย่างงจนสะสมไปเรื่อย ๆ และที่สำคัญจับกลุ่มกันติว จับกลุ่มกันอ่าน จะได้ประโยชน์มากกว่าการอ่านคนเดียวนะครับ
คำตอบ:
จะยากหรือไม่ยาก อยู่ที่ความพยายามของนิสิต ครับ พี่ ๆ ไม่สามารถที่จะตัดสินได้หรอกครับ ว่ายากหรือไม่ เพราะขีดจำกัดของคำว่า “วิชานี้ยาก” ของแต่ละคนไม่เท่ากันนะครับ
คำตอบ:
– นิสิตสามารถส่งและรับเอกสารที่ คุณกรสหนันท์ ต่อพงษ์พันธ์ (พี่เก่ง) สำนักงานการจัดการศึกษาห้อง 415 ชั้น 4 อาคารสิรินธร
-ก่อนส่งเอกสารกรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ถูกต้อง เหมาะสม และลงนามให้เรียบร้อย
– ในการติดต่องานราชการให้แต่งชุดนิสิตที่ถูกระเบียบ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยเครื่องแบบ เครื่องหมาย และเครื่องแต่งกายของนิสิต ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2552
คำตอบ:
– เมื่อถึงช่วงเวลาเพิ่มลดรายวิชาเรียน ตามปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัย ให้นิสิตดำเนินการเพิ่มลดออนไลน์ ได้ที่ http://reg.buu.ac.th/โดยนิสิตต้องรออนุมัติจากอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษา และคณบดี นิสิตสามารถตรวจสอบได้ในระบบว่าได้รับอนุมัติเพิ่มลดเรียบร้อยหรือไม่
– กรณีที่ไม่ได้รับอนุมัติ นิสิตต้องเขียนใบคำร้องทั่วไป RE-01 เรื่องขอเพิ่มรายวิชาล่าช้า โดยระบุเหตุผล ขอเรียนรายวิชา xxxxxx และให้อาจารย์ผู้สอนเซนกำกับ และให้อาจารย์ที่ปรึกษาและคณบดีลงนาม จากนั้น นิสิตนำใบคำร้อง ส่งได้ที่งานทะเบียนและสถิตินิสิต ชั้น 1 อาคาร ภปร.
คำตอบ:
– ในการถอนรายวิชา นิสิตสามารถขอใบคำร้องถอนรายวิชาได้ที่งานทะเบียนและสถิตินิสิต ชั้น 1 อาคาร ภปร. โดยไม่ต้องให้อาจารย์ประจำวิชาลงนาม แต่ต้องให้อาจารย์ที่ปรึกษาและคณบดีลงนาม และนำส่งที่งานทะเบียนและสถิตินิสิต ชั้น 1 อาคาร ภปร. ตามวันเวลาที่กำหนด โดยเก็บสำเนาใบถอนรายวิชาไว้ด้วย
คำตอบ:
– ถ้าเป็นวิชาเรียนของคณะวิทยาการสารสนเทศ ให้นิสิตติดต่ออาจารย์ผู้สอนประจำกลุ่มเรียนเพื่อขอขยายกลุ่ม ถ้าอาจารย์ผู้สอนเห็นชอบโดยการลงนามในใบคำร้อง ให้แจ้งที่นักวิชาการศึกษาเพื่อขยายกลุ่มเรียนและสำรองที่นั่งในระบบ แล้วทำการลงทะเบียนเพิ่ม-ลดรายวิชาในระบบทะเบียน(http://reg.buu.ac.th)ตามวันเวลาที่กำหนด
– ถ้าเป็นวิชาเรียนนอกคณะวิทยาการสารสนเทศแต่เปิดให้สำหรับนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ ให้นิสิตติดต่ออาจารย์ผู้สอนประจำกลุ่มเรียนเพื่อขอขยายกลุ่ม ถ้าอาจารย์ผู้สอนเห็นชอบโดยการลงนามในใบคำร้อง ให้กลับมาแจ้งที่นักวิชาการศึกษาของคณะวิทยาการสารสนเทศเพื่อขยายกลุ่มเรียนและสำรองที่นั่งในระบบ แล้วทำการลงทะเบียนเพิ่ม-ลดรายวิชาในระบบทะเบียน (http://reg.buu.ac.th) ตามวันเวลาที่กำหนด
– ถ้าเป็นวิชาเรียนนอกคณะวิทยาการสารสนเทศและเปิดให้นิสิตนอกคณะวิทยาการสารสนเทศ ให้นิสิตติดต่ออาจารย์ผู้สอนประจำกลุ่มเรียนเพื่อขอขยายกลุ่ม ถ้าอาจารย์ผู้สอนเห็นชอบโดยการลงนามในใบคำร้อง และต้องแจ้งที่นักวิชาการศึกษาของคณะฯ ที่เป็นเจ้าของรายวิชา เพื่อขยายกลุ่มเรียนและสำรองที่นั่งในระบบ แล้วทำการลงทะเบียนเพิ่ม-ลดรายวิชาในระบบทะเบียน(http://reg.buu.ac.th) ตามวันเวลาที่กำหนด
คำตอบ:
ในกรณีที่นิสิตเข้าร่วมกิจกรรมหรือเป็นตัวแทนในการเข้าร่วมงานต่าง ๆ ให้หน่วยกิจกรรมที่นิสิตสังกัด ทำหนังสือถึงอาจารย์ประจำรายวิชาเพื่อขอลาเรียน และให้นิสิตทำสำเนาฝากเพื่อนไปส่งอาจารย์ประจำรายวิชาต่อไป แต่ถ้าเป็นการลาเรียนเนื่องจากกิจส่วนตัวแนะนำให้นิสิตเขียนจดหมายลากิจพร้อมลายเซ็นและเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครองครับ และให้ส่งก่อนวันที่จะหยุดเรียนหรือฝากเพื่อนส่งวันที่เรียนในรายวิชานั้นครับ (ในกรณีบางรายวิชาที่สามารถพิมพ์ใบลาส่งได้ นิสิตสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็บงานกิจการนิสิต http://insa.buu.ac.th)
คำตอบ:
ถ้าวิชาใดที่นิสิตเรียนแล้วติด F นิสิตต้องเรียนซ้ำเพื่อแก้ผลการเรียนครับ มีเงื่อนไขคือ ถ้านิสิตได้รับF ในรายวิชาบังคับ นิสิตจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชานั้นซ้ำอีก จนกว่าจะได้รับ A, B+, B, C+, C, D+, D หรือ S แต่ถ้าได้รับ F ในรายวิชาเลือกนิสิตจะสามารถลงทะเบียนเรียนวิชาอื่นแทนได้ แต่ต้องอยู่ในกลุ่มวิชาเดียวกัน (สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2555)
คำตอบ:
ในแต่ละรายวิชาอาจใช้วิธีการวัดผลประเมินผลแบบอิงกลุ่ม หรืออิงเกณฑ์ ก็ได้ ฉะนั้นในการสอบกลางภาค หากคะแนนเต็ม 60 ได้ 25 ก็อาจจะไม่ได้หมายความว่านิสิตไม่ผ่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวัดผลในรายวิชานั้นว่าเป็นแบบใด หากเป็นแบบอิงกลุ่ม ก็ดูคะแนนเฉลี่ยของทั้งกลุ่มว่าเป็นเท่าใดเช่น ถ้าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 22.5 นั่นหมายความว่าคะแนนนิสิตอยู่ช่วงกลาง ๆ ของห้อง แต่ถ้าเป็นการวัดผลแบบอิงเกณฑ์เช่น ตัด F ที่ ต่ำกว่า 50% นั่นหมายความว่าคะแนนนิสิตต่ำกว่า 50% ของการสอบครั้งนั้น ซึ่งนิสิตก็สามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ประกอบการตัดสินใจในการที่จะเรียนวิชานั้นต่อไปหรืออาจจะถอนรายวิชาในกรณีที่ได้คะแนนน้อยจริงๆ และน่าจะไม่สามารถทำคะแนนให้ดีขึ้นได้ในช่วงปลายเทอม
คำตอบ:
การให้ระดับคะแนนเป็นระดับขั้น มี 8ระดับ ได้แก่ A, B+, B, C+, C, D+, D, F และมี I (Incomplete) หมายถึงการทำงานยังไม่เรียบร้อย ให้รีบติดต่ออาจารย์ผู้สอนโดยด่วน!!!! และ W (Withdrawn) หมายถึง การถอนรายวิชาในช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งกรณีนี้จะไม่ได้รับค่าหน่วยกิตคืน ส่วนในระดับคะแนนอื่น ๆ เช่น Au (ลงทะเบียนเรียนรายวิชาโดยไม่นับหน่วยกิต(Audit)), S (ผ่านตามเกณฑ์ (Satisfactory)), หรือ U (ไม่ผ่านตามเกณฑ์(Unsatisfactory)) คะแนนที่ไม่ได้เป็นระดับขั้น และอาจจะใช้ในบางรายวิชาในระดับปริญญาโทหรือเอก นิสิตต้องศึกษาและทำความเข้าใจ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2555 ข้อ 18 และ 19 โดยละเอียด และ หากมีปัญหาข้อสงสัยให้สอบถามกับนักวิชาการศึกษาหรืออาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ