คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา
ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ไม่รับวุฒิ ปวช.) มีผลการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่กำหนดในรอบการรับสมัคร TCAS จะต้องมีหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
1.ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยกิต
2.ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 7 หน่วยกิต
3.มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหา อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และต้องมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (การปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน)
4.แฟ้มสะสมผลงาน
ผู้สมัครเข้าศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ไม่รับวุฒิ ปวช.) มีผลการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่กำหนดในรอบการรับสมัคร TCAS จะต้องมีหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
1.ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยกิต
2.ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 7 หน่วยกิต
3.มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหา อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และต้องมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (การปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน)
4.ผู้ที่สมัครสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล จะต้องมีคะแนนขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้
- ค่าคะแนนวิชา TGAT ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน
- ค่าคะแนนวิชา TPAT3 ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 30 คะแนน
ผู้สมัครเข้าศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ไม่รับวุฒิ ปวช.) มีผลการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่กำหนดในรอบการรับสมัคร TCAS จะต้องมีหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
1.ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต
2.ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต
3.มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน
กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหา อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และต้องมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (การปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน)
4.ที่สมัครสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะต้องมีคะแนนดัง ต่อไปนี้
- ค่าคะแนนวิชา TGAT ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 55 คะแนน
- ค่าคะแนนวิชา TPAT3 ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 40 คะแนน
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
ชื่อย่อภาษาไทย: วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Computer Science)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Computer Science)
คำอธิบายสาขาวิชา
วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science: CS) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฏีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฏีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฏีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และทฤษฏีเครือข่าย
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
- อธิบายหลักการพื้นฐานด้านระบบอัจฉริยะตามมาตรฐานสากล
- ออกแบบขั้นตอนวิธี (Algorithm) สำหรับพัฒนาระบบอัจฉริยะเต็มรูปแบบ อย่างเป็นระบบ มีเหตุผลและตรรกะ
- ประยุกต์ใช้แนวคิด และมีทักษะในการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการพัฒนาระบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
- ประเมินคุณภาพของระบบอัจฉริยะให้มีมาตรฐานตรงตามหลักสากล
- พัฒนาระบบอัจฉริยะเต็มรูปแบบให้แก่ผู้ใช้งานได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
- แสวงหาและต่อยอดองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบอัจฉริยะได้ด้วยตนเอง
- ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- สื่อสารแบบปากเปล่า เขียน และนำเสนอได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน
- เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
- สามารถอธิบายหลักการพื้นฐานด้านซอฟต์แวร์อัจฉริยะ
- สามารถวิเคราะห์ปัญหาและออกแบบสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์อัจฉริยะ
- สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์อัจฉริยะที่สามารถพยากรณ์ หรือแนะนำข้อมูลที่มีประโยชน์ให้กับผู้ใช้งานได้
- สามารถคิดอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน มีเหตุผลและตรรกะ
- สามารถเลือกใช้กลุ่มของฟังก์ชันสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
- สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อัจฉริยะ
- สามารถต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านซอฟต์แวร์อัจฉริยะได้ด้วยตนเอง
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในบทบาทของผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถเลือกใช้รูปแบบการสื่อสารทั้งปากเปล่าและการเขียนได้อย่างเหมาะสม
- มีวินัย ตรงต่อเวลา มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
- สามารถทดสอบและประเมินคุณภาพของซอฟต์แวร์อัจฉริยะได้
- สามารถประยุกต์ใช้ทักษะด้านวิเคราะห์ข้อมูลและตัวแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์อัจฉริยะ
เล่มหลักสูตร
- วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 (สำหรับนิสิตรหัส 65 เป็นต้นไป)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 (สำหรับนิสิตรหัส 64)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 (สำหรับนิสิตรหัส 59-63)
การเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฉบับปี 2559 คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
รูปแบบการศึกษา
- เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
- ภาษาที่ใช้จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
โครงสร้างหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต)
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 87 หน่วยกิต
2.1) วิชาแกน 12 หน่วยกิต
2.2) วิชาเฉพาะด้าน 60 หน่วยกิต
2.3) วิชาเฉพาะเลือก 9 หน่วยกิต
2.4) วิชาสหกิจศึกษา 6 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ประมาณการค่าใช้จ่าย
- ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรแบบเหมาจ่าย 184,000 บาท (ภาคการศึกษาละ 23,000 บาท)
ชื่อ | ห้องทำงาน | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
อาจารย์วรวิทย์ วีระพันธุ์ | werapan@go.buu.ac.th | IF-909C | (ประธานหลักสูตรฯ) |
ผศ.ดร.โกเมศ อัมพวัน | komate@gmail.com | IF-908C | |
ผศ.ดร.พิเชษ วะยะลุน | pichet.wa@go.buu.ac.th | IF-908E | |
ผศ.ภูสิต กุลเกษม | pusit@go.buu.ac.th | IF-908D | |
ผศ.เบญจภรณ์ จันทรกองกุล | benchaporn@informatics.buu.ac.th | IF-908A | |
ผศ.จรรยา อ้นปันส์ | mai.janya@gmail.com | IF-908F | |
ดร.วรัณรัชญ์ วิริยะวิทย์ | waranrach.vi@go.buu.ac.th | IF-908B |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ ทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์และเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีทางระบบ คอมพิวเตอร์ และทฤษฎีเครือข่าย การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อสร้างซอฟต์แวร์ เพื่อปรับปรุงพัฒนาขั้นตอนวิธี ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่จะเน้นทักษะด้านซอฟต์แวร์เป็นหลัก ไม่เน้นทางด้านฮาร์ดแวร์ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล สร้างระบบจัดการข้อมูล
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ
- นักวิชาการคอมพิวเตอร์ (Computer Technical Officer)
- ผู้เขียนชุดคำสั่ง (Programmer)
- ผู้เขียนชุดคำสั่งบนโทรศัพท์มือถือ (Mobile Programmer IOS /Android)
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design)
- นักทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software Tester)
- นักออกแบบระบบฐานข้อมูล (Database Designer)
- นักพัฒนาธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence Developer)
- เจ้าหน้าที่ทำงานทางด้านการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และข้อมูลดิจิทัลในองค์กร
- วิศวกรข้อมูล (Data Engineer)
- นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysts)
- ผลงาน/รางวัล
- รางวัลที่ 1 ประเภทโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานบนเครือข่ายสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (Mobile Application) (นิสิต นักศึกษา) จากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 (NSC-2019)และได้เข้ารับพระราชทานเกียรติบัตร และถ้วยรางวัล จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- รางวัลการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (ORAL) การประชุมวิชาการปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคอาเซียน (AUCC 2019), Proceedings Click Click: The Automatic International Conference Proceedings Management System
เครือข่ายความร่วมมือ
- บริษัท คลิกเน็กซ์ จำกัด (ClickNext)
- ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
- บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) (MFEC)
- ซีดีจี และกลุ่มเครือบริษัทจีเอเบิล
- INET - Internet Thailand Public Co., Ltd
- เอโฮสต์
- ทูเฟลโลส์
- สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ
- แกรนด์ลีนุกซ์
- ทรู คอร์ปอเรชั่น
- เจเนอรัล อิเลคทรอนิค
- ซี.เอส.ไอ.
- อัฟวาแลนท์
- เว็ลธ์ แมเนจเม้นท์
- โมทีฟ เทคโนโลยี
- พริซึ่มโซลูชั่นส์
- สิริวัฒนาคอนสตรัคชั่น
- ไดกิ้น อินดัสทรีส์
- สยาม เด็นโซ่
- สึบาคิโมโตะ
- เพาว์เวอร์ ยูต้า
- แวมสแตค
- TOT
- ห้องปฏิบัติการวิจัย MADI