คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา
ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (ไม่รับวุฒิ ปวช.) มีผลการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่กำหนดในรอบการรับสมัคร TCAS จะต้องมีหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
1. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 18 หน่วยกิต
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยกิต
3. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 7 หน่วยกิต
4. มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหา อย่างเป็นลำดับขั้นตอนและต้องมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (การปฏิบัติงานในสถานประกอบการจมีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหา อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และต้องมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (การปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (ไม่รับวุฒิ ปวช.) มีผลการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่กำหนดในรอบการรับสมัคร TCAS จะต้องมีหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
1. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 18 หน่วยกิต
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยกิต
3. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 7 หน่วยกิต
4. มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหา อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และต้องมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (การปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน)
5. ผู้ที่สมัครสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ จะต้องมีคะแนน ดังต่อไปนี้
5.1 ค่าคะแนนวิชา TGAT
5.2 ค่าคะแนนวิชา TPAT3
5.3 ค่าคะแนนวิชา A-Level : Math 61
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (ไม่รับวุฒิ ปวช.) มีผลการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่กำหนดในรอบการรับสมัคร TCAS จะต้องมีหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
1. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 18 หน่วยกิต
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต
3. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต
4. มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหา อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และต้องมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (การปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน)
5. ผู้ที่สมัครสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์จะต้องมีคะแนน ดังต่อไปนี้
5.1 ค่าคะแนนวิชา TGAT
5.2 ค่าคะแนนวิชา TPAT3
5.3 ค่าคะแนนวิชา A-Level : Math 61
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)
ชื่อย่อภาษาไทย: วท.บ. (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)
ชื่อภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Software Engineering)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Software Engineering)
คำอธิบายสาขาวิขา
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering: SE) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับวิศวกรรมด้านซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมในการดูแลการผลิตซอฟต์แวร์ที่สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมาย ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดยเริ่มตั้งแต่การเก็บความต้องการ การตั้งเป้าหมายของระบบ การออกแบบ กระบวนการพัฒนา การตรวจสอบ การประเมินผล การติดตามโครงการ การประเมินต้นทุน การรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการคิดราคาซอฟต์แวร์ เป็นต้น
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
- ปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงต่อเวลา และเคารพกฎระเบียบขององค์กรและสังคม
- อธิบายหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
- ประยุกต์ความรู้เพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตามแนวทางของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยวิถีโอเพนซอร์ส
- ใช้ภาษาและเครื่องมือโอเพนซอร์สที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์
- สืบค้นและติดตามความรู้ทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
- มีประสบการณ์ในการวิเคราะห์และออกแบบซอฟต์แวร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อแก้ไขปัญหาโจทย์การทำงานจริงจากสถานประกอบการ
- พัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ตามความต้องการของผู้ใช้ ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานจริง เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังพลในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจดิจิทัลภาคตะวันออกและประเทศ
- ทำงานในทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งในบทบาทของผู้นำและผู้ตาม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาซอฟต์แวร์
- สื่อสารด้วยวิธีการเขียนหรือปากเปล่าที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ รวมถึงเลือกใช้เครื่องมือและรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
- แสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพวิศวกรซอฟต์แวร์ได้อย่างเหมาะสม
- สามารถทำงานเป็นทีม ทั้งในบทบาทของผู้นำและผู้ตาม
- อธิบายความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โดยใช้หลักวิชาการและสามารถใช้เครื่องมือ ตามแนวทางของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยวิถีโอเพนซอร์ส เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจดิจิทัล
- ประยุกต์ความรู้ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จริง ตลอดจนนำกลับมาใช้ใหม่ ต่อยอด แบ่งปัน และเรียนรู้ทางวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง
- มีประสบการณ์ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมีการทำงานเป็นทีม รู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การแก้ไขข้อขัดแย้งและจัดลำดับความสำคัญของงาน ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานจริงรวมถึงการบูรณาการร่วมกันระหว่างรายวิชา บริการวิชาการ และการวิจัย
- สามารถสื่อสารด้วยวิธีการเขียนและปากเปล่า รวมถึงเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่ถูกต้องตามหลักการนำเสนอเชิงวิชาการ
เล่มหลักสูตร
- วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 (ดาวน์โหลด)
- วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 (ดาวน์โหลด)
- วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 (ดาวน์โหลด)
การเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ฉบับปี 2564 คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
การเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ฉบับปี 2559 คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
รูปแบบการศึกษา
- เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
- ภาษาที่ใช้จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
โครงสร้างหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต)
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไปไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ 89 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
4) วิชาประสบการณ์ภาคสนาม 6 หน่วยกิต
ประมาณการค่าใช้จ่าย
- ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรโดยประมาณ 184,000 บาท (ภาคการศึกษาละ 23,000 บาท)
ชื่อ | ห้องทำงาน | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
ผศ.พีระศักดิ์ เพียรประสิทธิ์ | peerasak@buu.ac.th | IF-910B | (ประธานหลักสูตรฯ) |
ผศ.ดร.ณัฐพร ภักดี | nuttaporn@go.buu.ac.th | IF-910D | |
ผศ.ดร.อธิตา อ่อนเอื้อน | athitha@go.buu.ac.th | IF-910F | |
ผศ.วันทนา ศรีสมบูรณ์ | wantanasi@go.buu.ac.th | IF-910C | |
อาจารย์อริย์ธัช ศิรภัทร์วงศ์กร | apisit.sa@go.buu.ac.th | IF-910A | |
อาจารย์จิรายุส อาบกิ่ง | jirayus@informatics.buu.ac.th | IF-910E |
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ จะเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ เครื่องมือในการพัฒนา วิธีการการบริหารจัดการ กระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานในการพัฒนาซอฟต์แวร์ กิจกรรมต่าง ๆ และสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์
ตัวอย่างแนวทางการประกอบอาชีพ
- วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineer) หรือนักเขียนโปรแกรม (Programmer/Developer)
- วิศวกรความต้องการ (Requirement Engineer)
- นักประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality Assurance)
- วิศวกรปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement Engineer)
- นักทดสอบระบบ (Software Tester)
- นักบูรณาการระบบ (System Integrator)
- นักวิเคราะห์ระบบหรือนักออกแบบระบบ (System Analyst / Designer)
- ผู้จักการโครงการซอฟต์แวร์ (Software Project Manager)
ผลงาน/รางวัล
- รางวัลการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (ORAL) จำนวน 9 ผลงาน ในการประชุมวิชาการ The 11th ASEAN Undergraduate Conference In Computing (AUCC) 2022 ได้รับรางวัล Excellent จำนวน 1 ผลงาน จากนิสิตในที่ปรึกษาของอาจารย์อภิสิทธิ์ แสงใส เรื่อง Identity Server System – ระบบยืนยันตัวตนและกำหนดสิทธิ์การใช้งานผ่านเครือข่ายกลาง
📌นอกจากนี้ยังมีรางวัล Very good จำนวน 3 รางวัล
📌รางวัล Good จำนวน 3 รางวัล
📌และ participant จำนวน 2 รางวัล - นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษา นิสิตสหกิจศึกษาดีเด่น ที่เข้าปฎิบัติงานสหกิจศึกษากับทางบริษัท คลิกเน็กซ์ จำกัด ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- รางวัลทุนโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24 (NSC 2022) “โครงการไก่กังวล” ที่ผ่านรับทุนรอบนำเสนอผลงาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- รางวัลการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (ORAL) จำนวน 6 ผลงาน ในการประชุมวิชาการ The 10th ASEAN Undergraduate Conference In Computing (AUCC) 2022 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ นางสาวลลิตา เฉินจุณวรรณ ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาดีเด่น จากบริษัท คลิกเน็กซ์ จำกัด ทุนละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
- รางวัลการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (ORAL) จำนวน 3 ผลงาน ในการประชุมวิชาการ The 9th ASEAN Undergraduate Conference In Computing (AUCC) 2021 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- รางวัลการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (ORAL) จำนวน 20 ผลงาน แบบ Poster 3 ผลงาน ในการประชุมวิชาการ The 7th ASEAN Undergraduate Conference In Computing (AUC2) 2019 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ได้รับทุนในโครงการ Sakura Science Program จากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 2 คน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- รางวัล Cloud Credit ในการแข่งขัน Chiangmai HackaTrain 2019 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- รางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศจากค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการ Thailand Networking Group ครั้งที่ 8
- นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์จำนวน 106 คน ได้รับประกาศนียบัตรระดับสากล หลักสูตร compTIA A+
ผลงานโครงงานนิสิต
เครือข่ายความร่วมมือ
- บริษัท เอ็กซ์เวนชั่น จำกัด
- บริษัท เอ - โฮสต์ จำกัด
- บริษัท คลิกเน็กซ์ จำกัด (ClickNext)
- บริษัท สยาม เด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
- บริษัท ซอฟต์สแควร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด
- บริษัท ไอวี ซอฟต์ จำกัด
- บริษัท ทีทีทีบราเธอร์ส จำกัด
- ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
- เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออก (Eastern Software Park)
- บริษัท กรีน ฮับ จำกัด
- บริษัท ไอเอ็มซี เอ้าท์ซอร์สซิ่ง (ประเทศไทย) จํากัด
- บริษัท อะเฮด จำกัด
- บริษัท เน็ตก้า ซิสเต็ม จำกัด
- บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด
- ซีดีจี และกลุ่มเครือบริษัทจีเอเบิล
- บริษัท ซี.เอส.ไอ. (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) (MFEC)
- ห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมระบบสารสนเทศ (ISERL)
- บริษัท แคนส์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
- บริษัท นิว ดอน จำกัด
- บริษัท พายซอฟท์ จำกัด (PieSoft)
- บริษัท เอนี่ไอ จำกัด
- บริษัท คิว คอนซัลติ้ง จำกัด
- INET - Internet Thailand Public Co., Ltd
- Advanced Info Service Public Company Limited
- บริษัท กสิกร เทคโนโลยี กรุ๊ป เซเครเทเรียต จำกั (KTBG)
- บริษัท ล็อกซเล่ย์ ออบิท จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เว็ลธ์ แมเนจเม้นท์ ซิสเท็ม จำกัด
- บริษัท ไอโคเน็กซ์ จำกัด
- บริษัท PRISM จำกัด
- บริษัท แบ็กซ์เตอร์ เมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จํากัด
- บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด
- บริษัท ซีล เทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- บริษัท ไทรอัมพ์ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส เอเชีย จำกัด
- บริษัท คอมพิวเตอร์โลจี จำกัด
- บริษัท ไทยโพลีคาร์บอเนต จำกัด
- บริษัท เคหกสี่ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด