คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา
ผู้สมัครเข้าศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล (ไม่รับวุฒิ ปวช.) มีผลการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่กำหนดในรอบการรับสมัคร TCAS จะต้องมีจำนวนหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
1. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยกิต
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 7 หน่วยกิต
3. มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
ผู้สมัครเข้าศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล (ไม่รับวุฒิ ปวช.) มีผลการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่กำหนดในรอบการรับสมัคร TCAS จะต้องมีจำนวนหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
1. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยกิต
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 7 หน่วยกิต
3. มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
4. ผู้ที่สมัครสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล จะต้องมีคะแนนขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้
- ค่าคะแนนวิชา TGAT ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน
- ค่าคะแนนวิชา TPAT3 ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 30 คะแนน
ผู้สมัครเข้าศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล (ไม่รับวุฒิ ปวช.) มีผลการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่กำหนดในรอบการรับสมัคร TCAS จะต้องมีจำนวนหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
1. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต
3. มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
4. ผู้ที่สมัครสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล จะต้องมีคะแนนขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้
- ค่าคะแนนวิชา TGAT ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน
- ค่าคะแนนวิชา TPAT3 ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 30 คะแนน
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล)
ชื่อย่อภาษาไทย: วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Information Technology for Digital Industry)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Information Technology for Digital Industry)
ปรัชญาของหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564)
“ผลิตบัณฑิตให้รู้จริง สามารถบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะพร้อมปฏิบัติงาน และมีคุณธรรม”
คำอธิบายสาขาวิชา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล (Information Technology for Digital Industry : ITDI) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ เป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและขั้นตอนวิธีจากวิทยาการคอมพิวเตอร์ในการทำงาน การศึกษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การวางโครงสร้างสถาปัตยกรรมองค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดกับสังคม ธุรกิจ องค์กร หรืออุตสาหกรรม
เล่มหลักสูตร
- วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 (ดาวน์โหลด)
- วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 (ดาวน์โหลด)
- วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 (ดาวน์โหลด)
การเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล ฉบับปี 2564 คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
การเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปี 2559 คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
รูปแบบการศึกษา
- เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
- ภาษาที่ใช้จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
โครงสร้างหลักสูตร (123 หน่วยกิต)
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 30 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 87 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาแกน จำนวน 9 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน จำนวน 60 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก จำนวน 18 หน่วยกิต
3) หมวดเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต
ประมาณการค่าใช้จ่าย
- ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรโดยประมาณ 184,000 บาท (ภาคการศึกษาละ 23,000 บาท)
ชื่อ | ห้องทำงาน | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
ผศ.ดร.อังศุมาลี สุทธภักติ | ungsumalee.su@go.buu.ac.th | IF-911F | (ประธานหลักสูตรฯ) |
ผศ.ดร.ประจักษ์ จิตเงินมะดัน | prajaks@buu.ac.th | IF-912D | |
ดร. คนึงนิจ กุโบลา | kubola@go.buu.ac.th | IF-911D | |
อาจารย์วิทวัส พันธุมจินดา | wittawas@buu.ac.th | IF-911A | |
อาจารย์เหมรัศมิ์ วชิรหัตถพงศ์ | hemmarat@go.buu.ac.th | IF-911E | |
ผศ.เอกภพ บุญเพ็ง | aekapop@buu.ac.th | IF-911B | |
ดร.กามาล บาฮะ | kamal.ba@informatics.buu.ac.th | IF-912F | |
อาจารย์สิทธิศักดิ์ แซ่จึง | sittisak.sa@go.buu.ac.th | IF-912A |
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล คณะวิทยาการสารสนเทศ จะเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล และสื่อดิจิทัลเชิงปฏิสัมพันธ์ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบสารสนเทศ การออกแบบ สร้าง การตรวจสอบความปลอดภัยและดูแลระบบสารสนเทศ การออกแบบการเข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้งาน การออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดให้กับธุรกิจองค์กร อุตสาหกรรม หรือสังคม
ตัวอย่างแนวทางการประกอบอาชีพ
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ (Information System Analyst)
- นักวิชาการคอมพิวเตอร์ (Computer Technical Officer)
- ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย (System Administrator)
- นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์และระบบสารสนเทศ (Web Developer)
- นักออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Designer and Developer)
- นักออกแบบและพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเชิงโต้ตอบ (Interactive Media Creator)
- นักออกแบบและพัฒนาส่วนติดต่อผู้ใช้งานเชิงโต้ตอบ (Interactive User Interface Designer)
- นักออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน (User Experience Designer)
- ผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน (Digital Technology Startup)